ประโยชน์หลัก ๆ คือ สามารถใช้โทรศัพท์มือถือได้แม้จะไม่ถือไว้ ไม่ว่าจะเป็นการโทรออก หรือจะใช้งาน ตัวโทรศัพท์ต้องมีตัวรับสัญญาณ bluetooth ได้ด้วย ซึ่งโทรศัพท์บางรุ่นก็ได้ built มาให้ เช่น t39m, R520m และ t68 เป็นต้น
ขั้นตอนการใช้เหมือนกันการโทรออกธรรมดา เพียงแต่เปลี่ยนจากการกดปุ่มที่ตัวเครื่อง มาเป็นกดที่ตัว headset แทน แล้วก็สั่งงานด้วยเสียงเหมือนปกติ แต่มีข้อจำกัดในการใช้ก็คือ ต้องสั่งงานภายใต้สภาพแวดล้อมที่เงียบและไม่มีเสียงรบกวน เนื่องจากตัวไมโครโฟนดักจับเสียงรอบข้างมากเกินไป
รูปภาพของ Bluetooth
อุปกรณ์สื่อสารตามมาตราฐาน bluetooth มีขนาดเล็ก อัตราการกินกระแสไฟต่ำ ส่วนประกอบหลักที่ใช้ในการสร้างสัญญาณวิทยุและควบคุมการสื่อสารถูกสร้างบรรจุ ลงในวงจรรวมขนาดเล็ก ซึ่งทำให้ผู้ผลิตอุปกรณ์สื่อสารสามารถบรรจุส่วนประกอบเพิ่มเติมลงในอุปกรณ์ของตนได้โดยไม่เปลืองพื้นที่มากขึ้น ผลก็คือ ทำให้อุปกรณ์เหล่านั้น มีความสามารถในการติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์อื่น ๆ ที่สนับสนุนเทคโนโลยี bluetooth ไม่มีความจำเป็นในการใช้สายสัญญาณเชื่อมต่อหรือใช้สัญญาณอินฟราเรดเพื่อการรับส่งข้อมูลระหว่าง อุปกรณ์อีกต่อไป
ที่สำคัญคืออุปกรณ์สื่อสารและเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สนับสนุนเทคโนโลยี bluetooth สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารแบบ ตัวต่อตัวระหว่างเครื่อง 2 เครื่อง ( one to one ) หรือจากเครื่องหนึ่งไปสู่หลาย ๆ เครื่องพร้อมกัน ( one to many ) เหตุผลสำคัญในการผลักดันให้เกิดมาตรฐาน bluetooth ขึ้นก็เพื่อสนับสนุนการเชื่อมต่อไร้สายระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาเข้ากับเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ และยังเป็นการสร้างกลุ่มการทำงาน ( Work group ) อย่างง่าย ๆ และใช้เวลาในการเชื่อมต่ออย่างรวดเร็ว ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลาย ๆเครื่องเข้าด้วยกัน ยิ่งจำนวนของอุปกรณ์ที่ติดตั้ง เครื่องรับส่งสัญญาณแบบ bluetooth มีจำนวนมากเพียงใด ความนิยมในการใช้งานก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ อุปกรณ์สำนักงานอัตโนมัติต่าง ๆไม่ว่าจะเป็นเครื่องพิมพ์ เครือข่าย LAN และอุปกรณ์ อื่น ๆ จะสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้หมด
รูปแบบการติดต่อสื่อสารแบบที่เรียกว่า " Adhoc network" คือเครือข่ายชั่วคราว ทำงานโดยปราศจากโครงสร้างพื้นฐานทางการสื่อสารที่มีการจัดการแบบศูนย์กลางหรือบริการที่จัดไว้แบบมาตรฐานในเครือข่าย ซึ่งการติดต่อจะต้องติดต่อกับ Host Adhoc Network เป็นเครือข่ายที่คาดหวังไว้ว่าใช้โครงสร้างพื้นฐานทางการติดต่อสื่อสารน้อย
Node แต่ละ Node จะเป็น Router เคลื่อนที่ ( Mobile router) และมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า "ตัวรับแบบไร้สาย" (Wireless Transceiver) การส่งข้อความบน Adhoc network จะเป็นการส่งข้อความระหว่าง node สอง node ที่อยู่ในช่วงที่ไม่มีการส่งข้อมูลระหว่างกัน หรือระหว่าง node ที่อยู่ในช่วงที่ไม่มีการส่งข้อมูลระหว่างกัน หรือระหว่าง node ที่ต่อกันแบบอ้อม หลาย hop โดยผ่าน Intermediate node node , ที่ทำตัวเป็น Intermediate node ในระหว่างส่งข้อมูลต้องเป็น node ที่ยินยอมติดต่อสื่อสารจนกว่าจะส่งข้อมูลเสร็จ Application ที่ใช้ Adhoc network ได้แก่ การติดต่อสื่อสารของด้านทหาร , การศึกษาทางไกล, และการประชุมทางไกล เป็นต้น
ย่านความถี่การใช้งาน | 2.4 กิกะเฮิรตซ์ |
กำลังส่ง | 1 มิลลิวัตต์ หรือ OdBm |
เทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสาร | Spread Spectrum |
จำนวนวงจรสื่อสารสำหรับเสียง (สูงสุด) | 3 วงจร ต่อ Piconet |
จำนวนวงจรสื่อสารสำหรับข้อมูล( สูงสุด) | 7 วงจร ต่อ Piconet |
อัตราเร็วในการรับส่งข้อมูล | 721 กิโลบิตต่อวินาที |
ระยะทำการหวังผล | 10 เมตร |
จำนวนอุปกรณ์ที่สามารถสื่อสารกันได้สูงสุดต่อกลุ่ม | 8 ชิ้นต่อ piconet |
มาตรการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล | ใช้ในการป้องกันระดับ link Layer |
แรงดันไฟป้อนเข้า | 2.7 โวลต์ |
อัตราการกินกระแสไฟ | |
ขนาดของแผงวงจรรวม | 0.5 ตารางนิ้ว |
การป้องกันสัญญาณรบกวน | ใช้เทคโนโลยี Frequency Hopping โดยมีการเปลี่ยนแปลงความถี่ใช้งาน 1600 ครั้งต่อวินาที |
References
Picture