การพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทำให้ขนาดของคอมพิวเตอร์เล็กลง มีขีดความสามารถเชิงคำนวณสูงขึ้น ขนาดของหน่วยความจำเพิ่มจากเดิมมากประจวบกับพัฒนาการทางด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก้าวหน้าจนถึงขึ้นการเชื่อมทรัพยากรต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันได้อย่างมีระบบ ผลของการเปลี่ยนแปลงแทคโนโลยีทำให้เกิดรูปแบบการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากร่วมกันทำงานด้วยฟังก์ชั่นต่าง ๆ ตามความเหมาะสมของระบบเพื่อให้ขีดความสามารถของทั้งระบบสูงขึ้น ในขณะที่ต้นทุนการลงทุนต่ำลง และสามารถขยายระบบได้ตามความเหมาะสมขององค์กร ระบบเชิงการคำนวณของคอมพิวเตอร์มากกว่าหนึ่งเครื่องขึ้นไปผ่านทางเครือข่ายที่นิยมมากรูปแบบหนึ่งคือ รูปแบบไคลแอนต์-เซิร์ฟเวอร์

หน้าที่หลักของเซิร์ฟเวอร์คือ การให้บริการเช่น ไฟล์เซิร์ฟเวอร์ ทำหน้าที่ให้บริการการใช้ไฟล์ ใช้ข้อมูล หากจัดการข้อมูลเป็นฐานข้อมูลและให้บริการการเรียกใช้ผ่านคำสั่งจัดการฐานข้อมูลมาตรฐาน เช่น SQL ก็เรียกว่า ดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ ให้บริการด้านการสื่อสารที่จะต่อเชื่อมกับอุปกร์อื่นก็เรียกว่า คอมมูนิเคชั่นเซิร์ฟเวอร์ ให้บริการด้านการพิมพ์เอกสาร เป็นที่พักของข้อมูลก่อนการบริการการพิมพ์ก็เรียกว่า พรินเตอร์เซิร์ฟเวอร์

คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ขอใช้บริการเรียกว่า ไคลแอนต์ เช่น พีซีที่ต่ออยู่บนเครือข่าย ขอเรียกใช้ฐานข้อมูล เราเรียกพีซีนี้ว่า ดาต้าเบสไคลแอนต์ ในขณะที่พีซีมีการเชื่อมต่อกับผู้ใช้เพื่อให้แสดงผลแบบวินโดว์เป็นกราฟิคได้ พีซีทำหน้าที่แสดงผลและให้บริการการแสดงผล เราเรียกพีซีนี้ว่าเป็น เทอร์มินัลเซิร์ฟเวอร์

ดังนั้นอุปกรณ์หนึ่งอาจเป็นได้ทั้งไคลแอนต์และเซิร์ฟเวอร์ตามฟังก์ชันการทำงานและจะทำงานร่วมกันโดยส่งผ่านข้อมูลและการเชื่อมโยงทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์

รูปแบบของไคลแอนต์-เซิร์ฟเวอร์ จึงเป็นรูปแบบที่ใช้ขีดความสามารถของคอมพิวเตอร์จำนวนมากตั้งแต่พีซีจนถึงเมนเฟรมทำงานร่วมกันเป็นระบบ รูปแบบการทำงานแบบไคลแอนต์-เซิร์ฟเวอร์ จึงเป็นรูปแบบของการจัดระบบให้เหมาะสมกับองค์กรทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ และการทำงานร่วมกัน ระบบนี้จึงได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในขณะนี้

การทำงานภายใต้ระบบไคล์เอ็นต์ไซอร์ฟเวอร์จึงประกอบด้วย ส่วนสำคัญสามส่วนคือ ส่วนของผู้ใช้บริการหรือที่เรียกว่า ไคล์เอ็นต์ ส่วนเครือข่ายและส่วนของผู้ให้บริการหรือเซอร์ฟเวอร์

ด้วยเหตุผลนี้การพัฒนาซอฟต์แวร์สมัยใหม่ในระบบ ไคล์เอ็นต์เซอร์ฟเวอร์จึงต้องคำนึงถึงส่วนทั้งสาม และหากจะพิจารณาให้กว้างออกไป ไคล์เอ็นต์ตัวหนึ่งอาจเรียกใช้บริการจากเซอร์ฟเวอร์หลายแห่งก็ได้ หรือจะเรียกเซอร์ฟเวอร์ที่ทำงานแตกต่างกัน หากในระบบมีเซอร์ฟเวอร์ที่ดูแลดาต้าเบสหลายตัว ระบบนั้นก็จะเป็นระบบจัดการข้อมูลแบบกระจาย ดังนั้นระบบฐานข้อมูลแบบกระจายจึงเป็นระบบที่ต้องทำงานโดยอาศัยการทำงานตามโมเดล ไคล์เอ็นต์เซอร์ฟเวอร์

กลไกของ ไคลแอนต์ เซิร์ฟเวอร์

ประโยชน์ของระบบ Client-server

  • ใช้ทรัพยากรย์ร่วมกันได้ เช่น share file, share printer หรือใช้ hardisk ร่วมกัน
  • ใช้ข้อมูลร่วมกันได้
  • กระจายงานออกไปลดภาระงานของแต่ละเครื่อง เช่น เครื่องคอมพิวเตอ์ หนึ่งอาจจะรับ หน้าที่เป็น Database server อีกเครื่องเป้น printer server อาจจะมีอีกเครื่อง เป็น web server
  • ขยับขยายหรือปรับเปลี่ยนระบบให้สอดคล้องกับความต้องการทางธุรกิจได้สะดวกกว่า
  • ใช้เงินที่ลงทุนไปในระบบคอมพิวเตอร์ได้อย่างคุ้มค่า

    References

  • http://www.web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/network/client.htm

    Picture

  • http://www.businessobjects.com