(ก)MPEG ย่อมาจาก Motion Picture Experts Group ซึ่ง MPEG เป็นกลุ่มของคณะกรรมการที่ทำงานภายใต้องค์การมาตรฐาน ISO ( International Standards Organization ) เพื่อสร้างมาตรฐานสำหรับการบีบอัดข้อมูลวิดีโอและออดิโอแบบดิจิตอล ( digital data compression ) ซึ่งเป็นการกำหนดมาตรฐานขั้นพื้นฐานสำหรับการกำหนดรูปแบบของสายข้อมูลระดับบิตของวิดีโอและออดิโอ และรวมไปถึงวิธีการขยายกลับข้อมูลที่ถูกบีบอัด ส่วนวิธีการบีบอัดข้อมูลวิดีโอและออดิโอแบบดิจิตอลนั้น MPEG ก็มีการกำหนดมาตรฐานเอาไว้เช่นกัน แต่ในทางปฏิบัติบริษัทที่ทำกิจการด้านนี้หรือโปรแกรมเมอร์ที่สนใจ สามารถที่จะสร้างอัลกอริทึม การบีบอัดข้อมูลดิจิตอลที่แตกต่างไปจากมาตรฐาน MPEG ได้เช่นกัน

สำหรับในปัจจุบัน MPEG ได้มีการพัฒนามาเป็นมาตรฐาน MPEG Layer3 ซึ่งเป็นอัลกอริทึมการบีบอัดข้อมูลดิจิตอลที่ประสิทธิภาพมาก โดยที่การบีบอัดข้อมูลดิจิตอลที่ระดับความถี่ 44.1 Khz จะสามารถบีบอัดข้อมูลเสียงให้มีขนาดเล็กลงกว่าข้อมูลเสียงต้นแบบมากถึง 12 เท่า โดยที่ไม่มีการสูญเสียคุณภาพของเสียงแต่ประการใด ซึ่งโปรแกรมที่สนับสนุน MPEG Layer3 ในปัจจุบันผู้อ่านก็สามารถทำการดาวน์โหลดได้จากอินเทอร์เน็ต

(ข)GIF : Graphic Interchange Format

  • ชื่อ Graphic Interchange Format
  • นามสกุลของไฟล์ภายใต้ระบบดอส GIF
  • ชนิดของรูปแบบ บิตแมป
  • เวอร์ชัน 87a and 89a
  • การแปรเปลี่ยน ไม่มี
  • ความคอมแพติเบิลระหว่างระบบปฏิบัติการ ระบบคอมพิวเตอร์ส่วนมาก
  • ซอฟท์แวร์ที่สามารถเปิดหรือ โปรแกรมการแก้ไขบิตแมปทุกโปรแกรม
  • อิมพอร์ตไฟล์ GIF โปรแกรมเดสก์ทอปพับลิชชิงส่วนมาก
  • โปรแกรมแก้ไขเวกเตอร์ที่สนับสนุนการทำงานออบเจ็กต์แบบบิตแมป
  • ความสามารถทางด้านสี แผงสีแบบอินเด็กซ์ ถึง 256 สี ( วาดจากสี RGB แบบ 24 บิต )
  • การบีบขนาดข้อมูล LZW การใส่รหัสแบบ run-length

    รูปแบบ GIF ( อ่านว่า "จิ๊ฟ") ถูกออกแบบโดย CompuServe ซึ่งระบบเครือข่ายข่าวสารแบบออนไลน์ เพื่อให้บริการด้านการแลกเปลี่ยนกราฟฟิกส์ในรูปแบบบิตแมปที่มีการจัดการทางด้านหน่วยความจำที่มีประสิทธิภาพ ภาพแบบ GIF จะมีข้อจำกัดในด้านแผงสีแบบอินเด็กซ์ ( ภาพสีแบบ 24 บิต ไม่สามารถใช้ได้ ) แผงสีสามารถบรรจุได้ถึง 256 สี ซึ่งถูกสร้างจากข้อมูลสี 24 บิต ไฟล์แบบ GIF ถูกบีบขนาดโดยใช้การบีบขนาด LZW แบบประยุกต์ การขยายไฟล์ข้อมูลแบบ GIF กลับคืนจะช้ากว่าการบีบขนาดแบบ RLE แต่จะเปลืองเนื้อที่หน่วยความจำน้อยกว่า

    โดยลักษณะของรูปแบบ GIF แล้วจะมีปัญหาในเรื่องการเปิดไฟล์น้อยมาก ( คุณสมบัติของไฟล์แบบ GIF รวมทั้งซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการอ่านและเขียน จะมีรายละเอียดแจกจ่ายให้กับผู้ใช้ทั่วไป แบบไม่คิดค่าธรรมเนียมโดย CompuServe ) และสิ่งเหล่านี้คือเหตุผลที่ทำให้เราไม่สามารถเปิดไฟล์ GIF ได้ในบางครั้ง

  • มีสิ่งรบกวนระหว่างการส่งไฟล์
  • เป็น GIF เวอร์ชัน 89a (เริ่มใช้ใน ค.ศ.1989 ) แต่ตัวอ่าน GIF เป็นเวอร์ชัน 87a ( เริ่มใช้ใน ค.ศ. 1987 )

    โครงสร้างไฟล์แบบ GIF

    ไฟล์แบบ GIF ประกอบด้วยบล็อกของข้อมูลที่เรียงกัน โดยแต่ละบล็อกมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น เทรลเลอร์บล็อก ( Trailer block ) จะบันทึกจุดสิ้นสุดของไฟล์ GIF ขณะที่บล็อกอื่นก็มีจุดประสงค์อื่น ๆ

  • เฮดเดอร์ ( Header) เฮดเดอร์บล็อกจัดเป็นส่วนเล็ก ๆ ขนาด 6 ไบต์ ที่จุดเริ่มต้น ของไฟล์ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูล 2 ประการ คือชนิดของไฟล์แบบ ( GIF ) และเวอร์ชัน ( 87a หรือ 89a ) เฮดเดอร์บล็อกจำเป็นต้องมีในทุก ๆ ไฟล์แบบ GIF ในขณะที่ชนิดของบล็อกอื่น ๆ ไม่จำเป็น
  • บล็อก LSD ( Logical Screen Descriptor ) เป็นบล็อกที่ใช้ระบุส่วนของอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงผลภาพ อุปกรณ์นี้อาจจะเป็นจอคอมพิวเตอร์หรือเครื่องพิมพ์ ส่วนที่ใช้แสดงผลนั้นมีความจำเป็นเพราะว่าไฟล์แบบ GIF สามารถที่จะบรรจุภาพบิตแมปมากกว่า 1 ภาพได้
  • ไฟล์แบบ GIF มีลักษณะเด่นก็คือ สามารถมีหลายภาพประกอบกันได้ โครงสร้างของไฟล์แบบ GIF ถูกออกแบบมาให้คล้ายกับกลุ่มของข้อมูลมากกว่าภาพในรูปแบบอื่น ๆ แต่ละส่วนของไฟล์ถูกอ่านและทำงานแบบเรียงลำดับ ไฟล์แบบ GIF ถูกออกแบบโดยอนุญาตให้ไฟล์สามารถเก็บและส่งภาพบิตแมปหลาย ๆ ภาพรวมทั้งข้อมูลซึ่งบ่งบอกว่าซอฟต์แวร์ที่ใช้แสดงผลจะหยุดนานเท่าไรระหว่างแต่ละภาพ

    แบบ GIF เป็นรูปแบบที่พัฒนาโดยบริษัท CompuServe เพื่อใช้สำหรับระบบเชื่อมตรงโดยเฉพาะ GIF ย่อมาจาก Graphic Interchange Format ปกติแล้วภาพแบบ GIF จะใช้สีได้มากที่สุด 256 สี เรียกว่า ภาพกราฟิก 8 บิต

    ข้อดีของภาพกราฟิกแบบ GIF

  • GIF สามารถใช้ข้ามระบบได้ หมายความว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบใดก็ตาม สามารถที่จะอ่านภาพในรูปแบบนี้ได้หมด
  • สามารถบีบกราฟิกได้เพื่อลดขนาดของแฟ้มให้เล็กลง
  • สามารถกำหนดให้พื้นหลังของภาพเป็นแบบโปร่งใสได้เพื่อใช้บนพื้นที่สีต่างกัน
  • ในการแสดงภาพนั้นสามารถกำหนดให้แสดงแบบสอดประสานได้ นั้นคือภาพที่ปรากฏบนจอจะปรากฏเป็นชั้นๆ โดยความคมชัดของภาพจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนเต็มภาพ ดังนั้นเราจะสามารถเห็นภาพก่อนได้แม้ว่าจะยังแสดงผลไม่เสร็จก็ตาม

    การเลือกใช้ภาพกราฟิกแบบ GIF

    ควรเลือกใช้กับภาพที่มีขนาดเล็ก เป็นภาพวาดที่มีความซับซ้อนไม่มาก


    (ค) JPG : Joint Photographic Experts Group ข้อมูลจำเพาะ

  • ชื่อ Joint Photographic Experts Group
  • นามสกุลของไฟล์ภายใต้ระบบดอส JPG หรือ JIF ( JPEG + TIFF)
  • ชนิดของรูปแบบ การบีบขนาดภาพบิตแมป
  • เวอร์ชัน หลายเวอร์ชัน
  • ความคอมแพติเบิลระหว่างระบบปฏิบัติการ JPEG เป็นการบีบขนาดวิธีหนึ่งซึ่งใช้กันทั่วไปโดยฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
  • ซอฟท์แวร์ที่สามารถเปิดหรือ โปรแกรมการแก้ไขบิตแมปและโปรแกรมการแปลงรูปแบบ
  • อิมพอร์ตไฟล์ GIF โปรแกรมเดสก์ทอปพับลิชชิงส่วนมาก
  • โปรแกรมแก้ไขเวกเตอร์ที่สนับสนุนการทำงานออบเจ็กต์แบบบิตแมป
  • ความสามารถทางด้านสี 2, 16, 256 สี หรือ 16 ล้านสี และความลึกสีแบบ 32 บิต

    มาตราฐานการบีบขนาดแบบ JPEG ค่อนข้างใหม่สำหรับวงการกราฟฟิกส์ ซึ่งไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อฮาร์ดแวร์ หรือซอฟต์แวร์ใด ๆ โดยเฉพาะ แต่ก็ได้นำเสนอวิธีการบีบขนาดที่สามารถใช้กันทั่ว ๆ ไปหลายวิธี ดังนั้น จึงมีการบีบขนาดหลายวิธีที่เกิดขึ้นมาโดยใช้มาตรฐานการบีบขนาดแบบ JPEG

    การบีบขนาดแบบ JPEG นี้จะมีประสิทธิภาพสำหรับเวลาที่ใช้ไปในการบีบขนาดข้อมูลของฮาร์ดแวร์ ชิปในคอมพิวเตอร์หลายชิ้นถูกออกแบบให้ใช้การบีบขนาดข้อมูลด้วย วิธีนี้โดยเฉพาะ สำหรับภาพบิตแมปสามารถบีบขนาดภาพบิตแมปโดยใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาที เมื่อเปรียบเทียบกันการบีบขนาดของไฟล์เดียวกัน โดยใช้ซอฟต์แวร์ซึ่งจะกินเวลาหลายนาที ซึ่งเวลาที่ใช้ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของไฟล์และสัดส่วนการบีบขนาดที่ต้องการ

    การบีบขนาดแบบ JPEG สามารถลดขนาดของภาพกราฟฟิกส์ได้มากทีเดียว การบีบขนาดมาตรฐานสามารถลดขนาดให้เหลือเพียงหนึ่งในสิบของภาพเดิม ซึ่งบางครั้งสามารถ ลดได้ถึง 100 ต่อ1 ที่ทำได้ก็เพราะ JPEG ได้ใช้การบีบขนาดแบบ Lossy ซึ่งเป็นการบีบขนาดแบบนี้จะทำให้เสียข้อมูลบางส่วนไป แต่การสูญเสียอาจไม่มีผลกระทบต่อภาพที่ปรากฏมากนัก

    แบบ JPEG

    ย่อมาจาก Joint Photograph Experts Groups ซึ่งภาพแบบ JPEG นี้ไม่มีคุณสมบัติในการแสดงภาพแบบสอดประสาน เราจึงต้องคอยให้ภาพปรากฏขึ้นมาอย่างช้าๆ ยาวลงมาจนเต็มรวมทั้งการทำให้พื้นหลังของภาพเป็นแบบโปร่งใสนั้นก็ไม่สามารถทำได้ในภาพกราฟิกแบบนี้

    ข้อดีของภาพแบบ JPEG

  • สามารถใช้ข้ามระบบได้
  • สามารถบีบอัดกราฟิกได้เพื่อให้มีขนาดของแฟ้มที่เล็กลง
  • สามารถแสดงสีได้มากถึง 16.7 ล้านสี หรือ 24 บิต
  • การเลือกใช้ภาพแบบ JPEG
  • ควรเลือกใช้ภาพกราฟิกแบบนี้เมื่อต้องการแสดงภาพที่มีลักษณะเหมือนภาพถ่ายหรือภาพที่มีการไล่โทนสีมากๆ

    References

  • หนังสือ เคล็ดลับและเทคนิคการแก้ปัญหาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟฟิก
  • http://web.ku.ac.th/
  • http://www.geocities.com/thanan2000/