(ก)การสื่อสารแบบเคลื่อนที่ไร้สาย แบ่งเป็น 3 ยุค ได้แก่

1. ยุค 2G เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารแบบดิจิตอล ความสามารถในการสื่อสารมีดังนี้

  • การรับสาย - โทรออก
  • รับฝากข้อความด้วยเสียง
  • รับส่งข้อความ
  • ความเร็วในการสื่อสาร 10kb/sec
  • เวลาในการ Download เพลง MP3 ใช้เวลา 31-41 นาที
  • โทรศัพท์มือถือในยุคที่ 2 จะใช้โครงข่ายระบบ GSM (Global Standard for Mobile Communication) ซึ่งจะเหมาะสมกับการรับส่งเสียง แต่ไม่เหมาะกับการรับส่งข้อมูล เนื่องจากข้อจำกัดในเรื่องความเร็วต่ำ (ประมาณ 9.6 Kbps.)

    2. ยุค 2.5 G เป็นเทคโนโลยีที่กว้างขวางในปัจจุบันนี้ ความสามารถในการสื่อสาร มีดังนี้

  • รับสายโทรเข้า - โทรออก
  • ส่งแฟกซ์
  • รับ-ส่งข้อความ
  • ต่ออินเตอร์เน็ต
  • มีแผนที่เดินทาง
  • มีการพัฒนารุ่นใหม่ ๆ ตลอดเวลา
  • ความเร็วในการสื่อสาร 64-144kb/sec
  • เวลาในการ Download เพลง MP3 6-9 นาที
  • โทรศัพท์มือถือในยุคที่ 2.5 จะใช้โครงข่าย GPRS (General Packet Radio Service) จะมีความสามารถมากขึ้น ความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดที่ 171.2 Kbps. หรือราวประมาณ 3 เท่าของการใช้ผ่านโมเด็มตามปกติ

    3. ยุค 3G เป็นเทคโนโลยีการสื่อสาร ที่นำเอาการสื่อสารแบบไร้สาย คอมพิวเตอร์และโทรทัศน์รวมเข้าไว้ด้วยกัน ความสามารถในการสื่อสารมีดังนี้

  • รับสายโทรเข้า - ออก
  • ส่งแฟกซ์
  • เห็นภาพของผู้พูดอีกด้านหนึ่ง
  • รับ-ส่งข้อความ
  • มีความเร็วสูงในการประชุมทางโทรศัพท์
  • ต่อเข้ากับโทรทัศน์
  • บันทึกข้อมูลด้วยระบบอิเล็คทรอนิกส์
  • ความเร็วในการสื่อสาร 144kb/sec
  • เวลาในการ Download เพลง MP3 11 sec- 1.5 นาที
  • โทรศัพท์มือถือในยุคที่ 3 จะใช้โครงข่าย UMTS (Universal Mobile Telephony System) จะมีคุณสมบัติและความสามารถ ที่หลากหลายมากขึ้น เช่น ความแม่นยำในการรับส่งข้อมูล ความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดที่ 2 Mbps.

    แนวทางการพัฒนาของแต่ละเทคโนโลยี กว่าจะผ่านมาถึงรุ่น 3

    เทคโนโลยีมีการเคลื่อนตัวจากรุ่นที่ 2 ไปยังรุ่น 2.5 แล้วก็ 3 โดยแค่รุ่นที่ 2.5 เราก็สามารถใช้งานบราวเซอร์ท่องอินเตอร์เน็ตหรือโหลดเพลง MP 3 ได้อยู่แล้ว แต่อาจจะใช้เวลาในระดับหนึ่ง ตัวอย่างเช่น MP3 ความยาว 3 นาที ก็ใช้เวลาโหลดระดับ 6-9 นาที แต่หากเป็นรุ่นที่ 3 แล้ว ก็ไม่เพียงแต่จะสามารถท่องอินเตอร์เน็ตได้ด้วยความเร็วสูง กับเพลงระดับ 3 นาที นั้นก็ใช้เวลาไม่เกินครึ่งนาที ยังไม่รวมไปถึงความสามารถระดับวีดีโอคอนเฟอร์เรนท์หรือประชุมทางโทรศัพท์แบบเห็นหน้า หรือดูทีวีได้สบาย แต่โดยส่วนใหญ๋ขณะนี้ที่ใช้งานกันอยู่ทั่วไป คือรุ่น 2.5 อาจจะเนื่องจากราคาของรุ่นที่ 3 แท้นั้นยังแพงอยู่มาก จากรูปแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของแต่ละเทคโนโลยีตั้งแต่สมัยเป็น 2Gจนกระทั่ง 3G นอกจากเรื่องความสอดคล้องกับเทคโนโลยีพื้นฐานเก่าแล้วนั้น ก็ยังต้องพิจารณารายละเอียดปลีกย่อยถึงความพร้อมและความเหมาะสมในแง่ของเทคโนโลยีและการลงทุนในภาพรวมอีกครั้งหนึ่งว่า เทคโนโลยีดังกล่าวตอบสนองความต้องการของการใช้งานได้ทั้งหมดหรือไม่

    (ข)ประเทศไทยอยู่ในยุคการสื่อสารแบบเคลื่อนที่ไร้สาย ยุค2.5G เพราะสามารถเห็นได้จากเทคโนโลยีที่สนับสนุนในด้านการสื่อสารแบบไร้สาย เช่น

  • GPRS (General Packet Radio Service) ซึ่งเป็นการขยับขยายความสามารถของโทรศัพท์มือถือระบบ GSM ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นโดยเฉพาะในด้านของข้อมูล GPRS (General Packet Radio Service) นี้ไม่ใช่สิ่งใหม่แต่ประการใดในแวดวงโทรคมนาคม ซึ่งจะจัดให้มันอยู่ในเจนเนอเรชั่นที่ 2.5 G สำหรับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ (โดย 1 G หมายถือโทรศัพท์มือถือระบบอนาล็อก, 2 G หมายถึง โทรศัพท์มือถือดิจิตอลปัจจุบันที่เราใช้อยู่) GPRS นั้นถือว่าเป็นบริการใหม่ที่ล้ำสมัยของโทรศัพท์มือถือที่ไม่จำกัดตัวเองอยู่แค่การใช้เสียงเท่านั้น โดยมันมีความสามารถในการส่งข้อมูลผ่านทางโทรศัพท์มือถือได้ด้วยความเร็วในระดับ 172 Kbps (ขณะที่โทรศัพท์มือถือดิจิตอลธรรมดาส่งได้ด้วยความเร็ว 9.6 Kbps) ซึ่งความเร็วที่สูงระดับนี้สามารถรองรับกับการใช้งานอินเตอร์เน็ตอย่างง่ายๆ ได้อย่างไม่มีปัญหา และอีกม่นานเราคงจะได้เห็นการใช้งานอินเตอร์แบบย่อในมือคุณไม่ว่าจะเป็นการ Chat, Web, Browsing, FTP หรือ E_mail GPRS ได้ถูกกำหนดเป็นมาตรฐาน และมีกำหนดการที่จะออกใช้งานทั่วโลก โดยเริ่มมีการวางระบบเพื่อรองรับการใช้งานงานตั้งแต่ปี 2000 โดยปี 2001 นั้นจะเริ่มทดสอบให้บริการที่ความเร็ว 56 Kbps และ 112 Kbps ก่อน โดยทั้งหมดจะทำงานอยู่บนเครือข่ายโทรศัพท์ GSM เดิม (แต่ตัวเครื่องโทรศัพท์ GSM เดิม จะไม่สามารถใช้งานกับ GPAR ได้) จากนั้นในปี 2002 จะเข้าสู่ยุคของ 3G เสียที

  • EDGE:UTRA TDD

    หรือ Enhanced Data rates for Global Evolution ซึ่งคาดว่าจะมีใช้อย่าง แพร่หลายในปี 2001 จะช่วยให้โทรศัพท์มือถือสามารถใช้บริการด้าน Multi-Media ต่างๆ ได้มากยิ่งขึ้น เช่น VDO Conferent , การถ่ายโอนข้อมูลขนาดใหญ่ๆ , การต่อเข้ากับ Interneet ผ่านทางเครื่องโทรศัพท์มือถือเอง หรือผ่านทางเครื่อง Note Book หรือ เครื่อง PC Computer ด้วย EDGE นี้ ผู้ใช้บริการจะสามารถจัดส่ง VDO-Postcard ให้แก่เพื่อนๆ หรือครอบครัวผ่านทาง Internet ด้วยเครื่องโทรศัพท์ มือถือเพียงเครื่องเดียว ได้อย่างไม่ยากเย็น เทคโนโลยีของ EDGE นี้ ใช้ได้ทั้งระบบ GSM และ TDMA ซึ่งก็เป็นระบบ Digital ด้วยกันทั้งคู่ แต่แตกต่างกันเรื่องระบบ Cellular และโครงสร้างภายใน โดย EDGE นั้นสามารถใช้ได้กับในระบบ Network และความถี่ของสัญญาณที่ใช้ในปัจจุบันนี้ได้ เพียงแต่อาจต้องมีการแก้ไข Hardware ด้าน Network และ แก้ไข Sotfware บ้างเล็กน้อย

  • WCDMA

    หรือ Wideband Code Division Multiple Access โดยที่ Wideband นั้นจะมีความสามารถอยู่ระหว่าง Narrowband และ Broadband Narrowband คือความสามารถเชิงโทรคมนาคม ที่รองรับการส่งข้อมูลไม่กี่จำพวก เช่น ข้อมูลเสียง,รูปภาพที่ถอดแบบจากต้นฉบับ, Slow-Scan VDO และ ข้อมูลที่มีการ ส่งถ่ายด้วยความเร็วต่ำๆ ในระดับ Kilobit เท่านั้น โดยคุณภาพนั้นก็อยู่ใน ระดับที่ยอมรับได้ ต่างกับ Broadband ที่สามารถจัดส่งข้อมูลได้ในระดับ Megabit ซึ่งทำให้สามารถส่งข้อมูลพวก Full-Color Image, หรือ Full-Motion VDO ได้ โดยที่ความเร็วในการส่งถ่ายโดยรวมจะเร็วกว่า แบบ Narrowband ตั้งแต่ 100 ถึง 1,000 เท่าเลยทีเดียว โดยสรุป Wideband นั้นก็จะสามารถรองรับการส่งถ่าย ข้อมูลได้ถึงระดับ Megabit ซึ่งก็สามารถถ่ายโอนข้อมูลจำพวกภาพเคลื่อนไหวได้ หรือ ทำให้การ Download ข้อมูล ข่าวสารต่างๆ เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว WCDMA นั้นกล่าวโดยรวมก็คือ เป็น Mode ในการเข้าถึงข้อมูล ที่ใช้สำหรับ Radio Interface ของ 3G ( 3rd Generation ของ Cellular Radio ) ลักษณะพิเศษของมันคือ จะมีความจุของข้อมูลสูง , มี Cell Radius ขนาดเล็ก และ มีการส่งถ่ายของ Spectrum Radio แบบกระจายเป็นวงกว้าง

  • WAP ( Wireless Application Protocol )

    เป็น Protocol ที่เป็นมาตรฐานสากล ที่เกิดจากความร่วมมือกันของ หลายๆบริษัท ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือ เพื่อนำเอาลูกเล่นหรือ ความสามารถ ต่างๆ ของ Wireless Application และ ของทางด้าน Internet ให้มาใช้ได้ บนเครื่องโทรศัพท์มือถือ WAP จะทำให้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ ใช้งานทางด้าน Internet ทั่วๆไปได้ เหมือนๆกับใช้งานผ่านทาง เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยที่ WAP นั้นไม่ต้องการ CPU ที่มีประสิทธิภาพ สูงๆ ไม่ต้องการหน่วยความจำมากๆ ไม่ต้องการแหล่งพลังงานมาก แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่หลายเรื่องด้วยเช่นกันที่อาจทำให้ผู้ใช้รู้สึกแปลกและ ติดขัดบ้าง เช่น ข้อจำกัดด้าน Bandwidth, มี Display ขนาดเล็ก และ มีส่วนของการป้อนข้อมูลเข้า ( Input ) ที่แตกต่างจากการใช้งาน บนคอมพิวเตอร์อยู่พอสมควร แต่จุดเด่นของ WAP นั้น ก็คือทำให้ ใช้งานได้ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ซึ่งสามารถพกพา หรือนำไปใช้งาน ณ ที่ไหนๆ ก็ได้ ซึ่งจุดนี้ ก็น่าจะหักล้างกับข้อจำกัดต่างๆลงได้ WAP นั้นถูกออกแบบมาเพื่อให้ใช้กับอุปกรณ์ไร้สายต่างๆ ไม่จำกัดเพียงแค่โทรศัพท์มือถือเท่านั้น หากยังรวมไปถึง วิทยุติดตามตัว ( Pager ), วิทยุรับส่งที่เรียกว่า Two-Way Radio, Smartphone และรวมไปถึงอุปกรณ์สือสารต่างๆ ตั้งแต่ระดับ Low-End จนถึง High-End เลยทีเดียว ซึ่ง ระบบ Network ที่ใช้กับ WAP ได้นั้น ก็ใช้ได้หลากหลายรูปแบบ ทั้ง CDPD, CDMA, GSM, PDC, PHS, TDMA, FLEX, ReFLEX, iDEN, TETRA, DECT, DataTAC และ Mobitex. WAP เป็น Protocol

    เทคโนโลยีบางส่วนจากการพัฒนาตั้งแต่รุ่นแรกของโทรศัพท์มือถือ
    TECHNOLOGY FEATURES
    1G wireless AMPS Avanced Mobile Phone Service
  • Analog voice Service
  • No data service
  • 2G wireless
  • CDMA Time Division Multiple Access
  • TDMA Time Division Multiple Access
  • GSM Global System for Mobile Communications
  • PDC Personal digital cellular
  • Digital voice service
  • 9.6 K to 14.4 bit/sec
  • CDMA, TDMA and PDC offer one-way data transmissions only
  • Enhanced calling features like caller ID
  • 3G wireless
  • W-CDMA Wide-band Code Division Multiple Access
  • CDMA-2000 Based on the Interim Standard-95 CDMA standard
  • Superior voice quality
  • Up to 2M bit/sec. always-on data
  • Broadband data services like video and multimedia
  • Enhanced roaming
  • Reference

  • นิตยสารวินแม็ค
  • http://www.geocities.com/learncdma http://www.thaitodaytip.com/cgi-bin/link/article.cgi?gprs.html
  • http://www.thaitelecom.com/

    Picture

  • Source : 3Gnewsroom.com